การปฏิบัติตัวระหว่างการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 

652 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การปฏิบัติตัวระหว่างการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 

ทางคลินิกห่วงใยผู้ป่วยที่มาใช้บริการของทางเรา จึงนำบทความสาระการแพทย์ที่มีประโยชน์แก่ผู้ป่วยโรคไต ได้นำไปปฎิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็
ต่อเมื่อผู้ป่วยเกิดจากความเข้าใจและการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง และหัวข้อที่จะนำเสนอมีดังนี้

 การปฏิบัติตัวระหว่างการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 
 1.1 ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงเวลาขยับแขนที่ใช้ฟอกเลือด เพราะอาจทำให้เข็มเลื่อนหลุดทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดได้ ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น รู้สึกกระตุก เจ็บบริเวณที่แทงเข็ม ควรแจ้งให้ พยาบาลทราบทันที เพราะปลายเข็มอาจแทงทะลุออกนอกหลอดเลือด ทำให้มีเลือดออกใต้ ผิวหนังได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวด ผิวหนังบริเวณปลายเข็มจะบวม เมื่อกลับบ้านยังรู้สึกปวด สามารถประคบด้วยความเย็นเพื่อลดอาการบวม 
 1.2 ในขณะฟอกเลือดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ผู้ป่วยควรสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นแม้มีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกร้อนหรือหนาวผิดปกติ ฯลฯ ควรรีบแจ้งแพทย์และพยาบาลทราบทันที เพื่อจะได้รับการรักษาป้องกันไม่ให้เกิด อาการรุนแรงตามมาและควรให้ความร่วมมือในการวัดความดันโลหิตทุกชั่วโมง หรืออาจวัดถี่ขึ้นถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ  
2.การปฏิบัติตัวหลังการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 
 2.1 หลังฟอกเลือดเสร็จถ้าผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด เป็นลมความดันโลหิตต่ำควรแจ้งให้แพทย์และพยาบาลทราบเพื่อพิจารณาปรับน้ำหนักแห้ง (dry weight) ของผู้ป่วยใหม่ให้เหมาะสม 
 2.2 เมื่อเสร็จสิ้นการฟอกเลือดพยาบาลจะทำการกดเส้นด้วยผ้าก็อซสะอาดจนกว่าเลือดจะหยุดหลังจากนั้นจะปิดพลาสเตอร์บริเวณแทงเข็มด้วยพลาสเตอร์ประมาณ 4-6 ชั่วโมง ผู้ป่วยจึงสามารถเอาพลาสเตอร์ออกได้ 
2.3 ชั่งน้ำหนักหลังการฟอกเลือดทุกครั้งและลงในแบบบันทึกน้ำหนักเพื่อใช้ประเมินการดึงน้ำว่า ตรงตามค่าที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าน้ำหนักหลังฟอกเลือดมากกว่า น้ำหนัก  ตัวแห้ง แสดงว่าผู้ป่วย ยังมีน้ำ เหลือค้างกลับไป ผู้ป่วยต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่มในวันถัดไปก่อนจะมาฟอกเลือดครั้งต่อไป 
 2.4 ควรระมัดระวังการกระทบกระแทกแรงๆและการถูกของมีคม โดยเฉพาะบริเวณเส้นเลือดที่ใช้ฟอกเลือดเพราะจะทำให้เลือดออกมากและอาจมีผลตกค้างของสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดในขณะฟอกทำให้เลือดหยุดยากและเขียวช้ำ บริเวณที่ถูกกระแทกได้ 
 2.5 ผู้ป่วยต้องบริหารเส้นฟอกเลือดโดยการบีบและคลายมือเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยควรบริหารหลังการฟอกเลือด 1 วัน ไม่ควรบริหารเส้นหรือยกของที่ต้องออก แรงแขนมากหลังฟอกเลือดวันแรก เพราะอาจทำให้เลือดออกบริเวณรูเข็มได้ 


 ขอขอบคุณข้อมูลและสาระดีๆ ที่มีประโยชน์แก่ผู้ป่วยโรคไต ได้นำไปปฎิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน

อ้างอิงจากที่มาข้อมูล

กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษไต
หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลราชวิถี

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้