ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus)

40 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus)

โรคตับอักเสบ คืออะไร?

     ตับอักเสบ (Hepatitis) เป็นภาวะที่เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ  ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ไวรัสตับอักเสบมีหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสทั้งหมดมีการติดต่อแตกต่างกันไปตามชนิดและลักษณะเฉพาะ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบจะทำให้เซลล์ตับตายหากปล่อยให้เรื้อรังจะเกิดพังผืดอาจทำให้เกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus) ติดต่อกันอย่างไร?

  • การติดเชื้อที่พบบ่อย คือการถ่ายทอดจากมารดาที่ติดเชื้อสู่ทารก แต่ในปัจจุบันจดลดลงมาก เพราะการฉีดวัคซีนให้ทารกที่คลอดมาจะช่วยป้องกันได้เกือบร้อยละ 100 ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อถ้าติดจากมารดาและเกิดก่อน พ.ศ. 2535 ในวัยผู้ใหญ่ เช่น อาจมีการติดเชื้อจากสาเหตุอื่นๆ
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ได้ป้องกัน ซึ่งไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดต่อได้ง่ายกว่าเชื้อไวรัสเอดส์
การสัก เจาะหูหรือการฝังเข็มโดยอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อไม่ถูกต้อง
  • การได้รับเลือด และส่วนประกอบของเลือดที่ไม่จำเป็น ก็อาจเป็นสาเหตุได้ แต่พบได้น้อยมากในการตรวจกรองของธนาคารเลือดในปัจจุบัน

หากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จะมีอาการอย่างไร?


     ในกรณีตับอักเสบเฉียบพลันซึ่งพบในเด็กโต, ผู้ใหญ่ อาจมีอาการ


  • อ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด
  • คลื่นไส้  อาเจียน  น้ำหนักลด
  • จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต ปัสสาวะเข้ม  ตาเหลือง


     อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นในเวลา 2 - 3 สัปดาห์ และร่างกายจะค่อยๆ กำจัดไวรัสตับอักเสบบีออกไปพร้อมกับการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีซ้ำอีก ผู้ป่วยร้อยละ 1 - 5 อาจโชคไม่ดีไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ เกิดการติดเชื้อเรื้อรังโดยเฉพาะหากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการอักเสบร่วมด้วย  ซึ่งหากมีการอักเสบตลอดเวลาจะทำให้มีการตายของเซลล์ตับ เกิดมีพังผืดเพิ่มมากขึ้นจนเป็นตับแข็งในที่สุด ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งกลายเป็นมะเร็งตับซ้ำเดิม ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังมักไม่มีอาการแม้จะมีตับเสียหายมากและกรณีนี้จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค

แพทย์สามารถวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบบี ได้อย่างไร?

     การวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบบีในปัจจุบันทำได้ง่ายมาก เพียงตรวจเลือดในปริมาณเล็กน้อย เพื่อหาเปลือกของไวรัส (HBsAg) ก็จะทราบได้ว่าท่านมีไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งแพทย์อาจตรวจหาหลักฐานว่ามีตับอักเสบหรือไม่ โดยการตรวจระดับเอนไซม์ของตับ (AST/ ALT) โดยในผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบเรื้อรัง แพทย์อาจนัดตรวจ 1 - 2 ครั้ง ในเวลาห่างกันทุกๆ 1 - 2 เดือน ก็จะทราบได้ว่าท่านมีตับอักเสบเรื้อรังหรือไม่ นอกจากนั้นแพทย์อาจตรวจปริมาณไวรัสโดยทางอ้อมด้วยการตรวจ HBeAg หรือตรวจนับไวรัสในเลือดโดยตรง เพื่อประเมินปริมาณของไวรัสก่อนการรักษา แพทย์อาจจะตรวจชิ้นเนื้อตับโดยใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านผิวหนังหลังจากฉีดยาชา ซึ่งการตรวจชิ้นเนื้อนี้จะให้ข้อมูลที่สำคัญอย่างมากเกี่ยวกับการอักเสบของตับ

5. ข้อลดเสี่ยงโรคตับอักเสบบี

     1. รับประทานอาหารใหครบ 5 หมู่ ลดอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมัน

     2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่หักโหม

     3. ควรงดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะทำให้ตับถูกทำลายมากขึ้น

     4. อัลตราซาวนด์และตรวจสุขภาพประจำปี

     5. งดอาหารที่มีสารอัลฟาท็อกซิน เช่น ในถั่วลิสง พริกป่น เป็นต้น

 

ไวรัสตับอักเสบบี ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน

     วัคซีนไวรัสตับอักเสบบีประกอบด้วย โปรตีนจากผิวของไวรัส (HBsAg) ซึ่งไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแต่จะไปกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทาน  สามารถฉีดตั้งแต่แรกเกิดโดยฉีดเหมือนกับผู้ใหญ่ ทั้งหมด 3 เข็ม หลังจากฉีดเข็มแรกแล้ว 1 เดือนจึงฉีดเข็มที่ 2 และ ฉีดเข็มที่ 3 หลังจากฉีดเข็มที่ 2 แล้ว 5 เดือน

     เมื่อฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีครบ 3 เข็ม ส่วนใหญ่พบว่าร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้มากถึง 97%  และสามารถป้องกันการติดเชื้อได้นานตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามหลังจากได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม ประมาณ 1-2 เดือน ควรเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อยืนยันว่ามีภูมิคุมกันไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ หากยังไม่มีภูมิต้านทานควรฉีดวัคซีนเพิ่มคำแนะนำของแพทย์

ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

ทารกแรกเกิด เด็ก และผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนเมื่อแรกเกิด
ผู้ที่ตรวจเลือดไม่พบว่าติดเชื้อมาก่อน และยังไม่มีภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบบี
ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่ทำงานในสถานพยาบาล
ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต
ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดบ่อยๆ
ผู้ที่ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการะบาดของโรค
ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางพฤติกรรมทางเพศ เช่น รักร่วมเพศ มีคู่นอนหลายคน
ผู้ที่มีอาจมีภูมิต้านทานในอนาคต
 
อ้างอิงที่มาข้อมูล

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/hbv
ขอบคุณข้อมูลจาก ศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี



Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้