สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

210 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ผู้ป่วยในไม่ต้องใช้ใบส่งตัว (IP Anywhere) เพื่อผู้ป่วยสิทธิบัตรทองหรือบัตร 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ใช้ได้ทั่วประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

ผู้ป่วยในไม่ต้องใช้ใบส่งตัวครอบคลุมหน่วยบริการทั่วประเทศ หรือ “IP anywhere” จากเดิมผู้ป่วยสิทธิบัตรทองที่เข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน อาจพบกรณีที่ใบส่งตัวหมดอายุระหว่างการรักษา ผู้รับบริการต้องกลับไปยังหน่วยบริการประจำเพื่อขอใบส่งตัวใหม่ทุกครั้ง ทำให้เกิดความไม่สะดวกและมีภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปขอใบส่งตัวใหม่โดยเฉพาะผู้รับบริการที่อยู่ต่างจังหวัด 

เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการ สปสช.จึงได้มีการการปรับระบบให้ผู้ป่วยในสามารถรักษาต่อเนื่องได้ทันทีตามการวินิจฉัยของแพทย์โดยไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัวที่หน่วยบริการประจำ ใช้เพียงบัตรประชาชนตรวจสอบตัวตน โดยเริ่มต้นในปีงบประมาณ 2564 นำร่องในพื้นที่ สปสช.เขต 13 กรุงเทพมหานคร และ สปสช.เขต 9 นครราชสีมา และขยายไปทั่วประเทศในปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

ในปีงบประมาณ 2565 ผลการดำเนินงานพบว่าผู้รับบริการ ได้รับความสะดวกในการรักษาแบบผู้ป่วยในต่อเนื่องโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว จำนวน 1,659,051 ครั้ง หรือร้อยละ 34.88 เทียบกับจำนวนบริการผู้ป่วยใน 4,755,937 ครั้ง ไม่นับรวมผู้ป่วยที่แยกกักตัวที่บ้านหรือชุมชน (Home Isolation /Community Isolation: HI-CI) โดยเป็นการรับบริการต่างหน่วยบริการประจำภายในจังหวัด 1,259,875 ครั้ง (ร้อยละ 75.94) หน่วยบริการข้ามจังหวัดภายในเขตพื้นที่ 171,965 ครั้ง (ร้อยละ 10.37) และหน่วยบริการข้ามเขตพื้นที่ 227,211 ครั้ง (ร้อยละ 13.70)

ตั้งแต่เริ่มนโยบายปี 2564 - 2565 มีผู้รับบริการ ได้รับความสะดวกในการรักษาแบบผู้ป่วยในต่อเนื่องโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว จำนวน 1,845,174 ครั้ง หรือร้อยละ 34.70 เทียบกับจำนวนบริการผู้ป่วยใน 5,316,994 ครั้ง ไม่นับรวม HI-CI โดยเป็นการรับบริการต่างหน่วยบริการประจำภายในจังหวัด 1,418,706 ครั้ง (ร้อยละ 76.89) หน่วยบริการข้ามจังหวัดภายในเขตพื้นที่ 183,482 ครั้ง (ร้อยละ 9.94) และหน่วยบริการข้ามเขตพื้นที่ 242,986 ครั้ง (ร้อยละ 13.17) 

กรณีแบบไหนบ้างที่ใช้สิทธิได้ ? 5 กรณีตัวอย่าง ดังนี้ 


1. ถาม : ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นกรดไหลย้อน จะให้นอน รพ. ต้องใช้ใบส่งตัวจาก รพ.ตามสิทธิหรือไม่ ?

ตอบ : ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิพร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชน

2. ถาม : ผู้ป่วยรับยาเบาหวานต่อเนื่องที่ รพ.รัฐมาตลอด โดยชำระค่าใช้จ่ายเอง วันนี้แพทย์ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูง ให้นอนดูอาการที่ รพ. หากต้องการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต้องทำอย่างไร ?

ตอบ : ให้ติดต่อแจ้งขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชน โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัวจาก รพ.ตามสิทธิ 

3. ถาม : แพทย์นัดผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม แจ้งให้ไปขอใบส่งตัวที่ รพ.ตามสิทธิ กรณีนี้ญาติจะขอใช้สิทธิกรณีผู้ป่วยในไม่ต้องใช้ใบส่งตัวได้หรือไม่ ?

ตอบ : หากเข้ารับการผ่าตัดที่ รพ.ในระบบ สปสช. ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิรักษากรณีผู้ป่วยในไม่ต้องใช้ใบส่งตัวได้เลย 

4. ถาม : บุตรอายุ 5 ปี เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด ผู้ปกครองพาบุตรมาเข้ารักษาที่ รพ.รัฐ (ประจำจังหวัด) แพทย์แนะนำว่าต้องผ่าตัด จะต้องใช้ใบส่งตัวจาก รพ.ตามสิทธิหรือไม่ ?

ตอบ : ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว

5. ถาม : ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง เข้ารักษา รพ.เอกชนในระบบ สปสช. แพทย์วินิจฉัยเป็นกรดไหลย้อน จะให้นอน รพ. ต้องใช้ใบส่งตัวจาก รพ.ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือไม่ ?

ตอบ : ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว

//////////9 พฤษภาคม 2566 

(ข้อแนะนำสำหรับการย้ายที่ฟอกไตสถานพยาบาลคลินิก เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการขอเข้ารับบริการ
-ใบฟอกเลือดล่าสุด2-3ครั้ง
-ใบส่งตัวจำเป็นต้องมี
-ผลเลือดไวรัสเอชไอวีไวรัสตับอักเสบและผลเลือดล่าสุดทุกตัว
-ผล X-ray -EKG
-ATK หรือผลตรวจPCR)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  

1.สายด่วน สปสช. 1330 

2.ช่องทางออนไลน์

• ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6

• Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้