291 จำนวนผู้เข้าชม |
ฟอสเฟตสูง หมายความว่ายังไง ?
“ฟอสฟอรัส หรือ ฟอสเฟต” เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ช่วยสร้างกระดูก และช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ดังนั้น
ปริมาณฟอสฟอรัสจึงมีผลกับกระดูกโดยตรง และที่สำคัญมักเจอได้ในอาหารเกือบทุกอย่าง (ที่อร่อย ๆ) โดยเฉพาะพวกนม ธัญพืช
ทุกชนิด ช็อคโกแลต ขนมขบเคี้ยว ไข่แดง เป็นต้น
คำว่า ฟอสเฟตสูงหรือต่ำ เราสามารถดูได้จากใบผลเลือด (จะอยู่ในหมวดเกลือแร่ ชื่อว่า Phosphorus หรือตัวย่อ P) ซึ่งถ้าใครที่ค่า
สูงเกิน 5.5 mg./dL. ขึ้นไป ก็จะถือว่าสูง จำเป็นต้องควบคุมอาหารประเภทฟอสฟอรัสให้เข้มขึ้น เพื่อให้ค่ากลับมาอยู่ในเกณฑ์
แต่ถ้าค่านี้ต่ำกว่า 3.5 mg./dL. ก็ไม่ดีเช่นกัน
ทำไมผู้ป่วยโรคไต ต้องคุมฟอสฟอรัส ?
นั่นก็เพราะ สำหรับคนปกติ ไตจะเป็นตัวปรับสมดุลเกลือแร่ในร่างกายให้เหมาะสม สารอะไรที่มากไป ไตจะขับออกมาก เพื่อให้ร่าง
กายมีค่านั้นพอเหมาะ หรือสารอาหารอะไรที่น้อยไป ก็จะแจ้งเตือนด้วยอาการต่าง ๆ เพื่อให้เรารู้ตัวและเสริมการกินอาหารนั้นเพิ่มขึ้น
นั่นเอง แต่ประเด็นใหญ่ ก็คือ พอเจ้าตัวปรับสมดุลอย่างไตเสื่อมลง การปรับสมดุลแบบนี้จึงทำได้ยากขึ้น แถมประสิทธิภาพการขับ
ของเสียให้ออกไปจากร่างกายก็ไม่ได้ดีเท่าที่ควร เราจึงต้องหันมาควบคุมการกินอาหารที่เข้าไปแทนนั่นเอง หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือ
การควบคุมอาหาร = ช่วยให้ไตทำงานง่ายขึ้น จะได้เสื่อมช้าลงค่ะ
ฟอสฟอรัสจะอยู่ในอาหาร 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
กลุ่มอาหารธรรมชาติ : ยิ่งถ้าเป็นกลุ่มที่มีโปรตีนสูง ฟอสฟอรัสก็มักสูงตามไปด้วย ยกเว้นไข่ขาวที่โปรตีนสูงแต่ฟอสฟอรัสต่ำ พวกนี้ถ้าเรากินเข้าไปแล้ว ร่างกายจะดูดซึมไปใช้ได้ 40-60% หรือประมาณครึ่งนึงจากที่กินเข้าไปเท่านั้น
กลุ่มอาหารปรุงแต่งหรือใช้สารสังเคราะห์ : เช่น สารกันบูด สารปรุงรสต่าง ๆ สารปรับแต่งคุณสมบัติของอาหาร (เช่น สารให้ความข้นหนืด สารให้ความควตัว สารแต่งกลิ่นแต่งรส เป็นต้น) แต่พวกนี้ถ้าเรากินเข้าไปแล้ว ร่างกายจะดูดซึมไปใช้ได้ 90% ขึ้นไปหรือเกือบหมดเลยทีเดียว
ขอบคุณภาพ คลินิครักไต รพ.อ่างทอง
ขอบคุณข้อมูล Kidney Meal http://www.kidneymeal.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%95/%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA/