โรคไตวายมีกี่ระยะ?

40 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคไตวายมีกี่ระยะ?

โรคไตหรือโรคไตเรื้อรังแบ่งออกเป็น 5 ระยะด้วยกัน โดยแบ่งจากระยะของโรคไตตามสาเหตุ และตามโรคร่วม เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคพันธุกรรม โรคที่เกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม และโครงสร้างทางกายวิภาคของไต เป็นต้น และแบ่งระยะตามระดับอัตราการกรองของไตหรือ eGFR (estimated glomerular filtration rate) คือปริมาณเลือดที่ไหลผ่านตัวกรองของไตในหนึ่งนาที ซึ่งแต่ละระยะจะมีอาการและวิธีการรักษาที่ต่างกันออกไป


โรคไตระยะที่ 1 มีค่า eGFR มากกว่า 90% อาการคือมีภาวะไตผิดปกติ เช่น มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ แต่อัตราการกรองยังปกติดี เป็นระยะที่อยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงต่ำ
โรคไตระยะที่ 2 มีค่า eGFR อยู่ในช่วงระยะ 60-89% อาการคือมีภาวะไตผิดปกติ เช่น มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ อัตราการกรองลดลงเล็กน้อย เป็นระยะที่เราจะเริ่มประเมินและชะลอการเสื่อมของโรคไตเรื้อรัง
โรคไตระยะที่ 3 มีค่า eGFR อยู่ในช่วงระยะ 30-60% อาการที่พบคือมีอัตราการกรองลดลงเล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง เป็นระยะที่แพทย์จะเพิ่มการดูแลภาวะแทรกซ้อนของไต และต้องระวังในเรื่องของโรคหัวใจที่จะเป็นภาวะแทรกซ้อนและทำให้ผู้ป่วยโรคไตเสียชีวิตได้มาก
โรคไตระยะที่ 4 มีค่า eGFR น้อยกว่า 30% ซึ่งอัตราการกรองลดลงมาก ระยะนี้แพทย์จะต้องเริ่มปรึกษาเรื่องการทำบำบัดทดแทนไต เพราะการฟอกไตไม่ว่าจะฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตเทียม การฟอกไตทางหน้าท้อง หรือการปลูกถ่ายไต
โรคไตระยะที่ 5 มีค่า eGFR น้อยกว่า 15% เข้าสู่อาการไตวายระยะสุดท้าย โดยแพทย์จะเริ่มการบำบัดทดแทนไต ตามที่ได้ปรึกษากันแล้วก่อนหน้านี้ โดยเริ่มการบำบัดทดแทนไตในเวลาที่เหมาะสม

อาการของไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
สำหรับผู้ป่วยโรคไตในระยะที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายจะมีการทำงานของไตลดลงเหลือ 15% ส่งผลให้มีอาการทางระบบอื่นตามมามากขึ้น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้จนมีภาวะขาดสารอาหาร ความดันโลหิตสูง โลหิตจาง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ สะอึก บวม หอบเหนื่อย อาจมีอาการหอบจากการคั่งของกรดในร่างกาย ถ้ามีอาการหนักมากและไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการซึมลงและชักได้
หากป่วยโรคไตระยะที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะต้องทำการรักษาด้วยการฟอกเลือดเพื่อล้างไต หรือผ่าตัดปลูกไต ตามดุลยพินิจของแพทย์

อาการของโรคไต

  • สำหรับผู้ป่วยโรคไตหรือผู้ที่ไม่มั่นใจว่าตนเองป่วยเป็นโรคไตหรือไม่ อาการของโรคไตที่สามารถสังเกตได้ด้วยตนเองมีดังนี้
  • ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เป็นอาการที่พบได้เมื่อการทำงานของไตเริ่มเสื่อมลงในระยะแรก
  • ขาบวมและกดบุ๋ม สาเหตุจากมีเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย หรือมีโปรตีนรั่วจำนวนมากในปัสสาวะ หากบวมมากจะทำให้เกิดอาการหอบเหนื่อยจากการมี
  • น้ำคั่งในปอด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
  • ความดันโลหิตสูง
    คลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย คันตามร่างกาย
  • ผู้หญิงอาจมีอาการประจำเดือนขาดหรือไม่สามารถตั้งครรภ์ได้
  • ส่วนผู้ชายจะมีความรู้สึกทางเพศลดลงและสร้างอสุจิลดลง  



อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2504171

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้