ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง มีวิธีการรักษาอย่างไร

699 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง มีวิธีการรักษาอย่างไร

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง มีวิธีการรักษาอย่างไร
            การรักษาโรคไตวายเรื้อรังแบ่งการรักษาออกเป็น 3 ระยะ คือ ในระยะเบื้องต้น หมายถึง เป็นในระยะแรกนั้น การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาด้วยยา จุดประสงค์ด้วยการรักษาด้วยยา ไม่ใช่การรักษาให้เนื้อไตที่เสียไปแล้วกลับสภาพทำงานได้ ยาที่อายุรแพทย์โรคไตให้กับผู้ป่วยนั้น เพื่อรักษาปัจจัยต่าง ๆ ที่จะทำให้ไตนั้นเสื่อมสภาพลง เช่น  ควบคุมความดันโลหิต ตรงนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ถ้าคนไข้มีความดันโลหิตสูง การควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ จะสามารถชะลอไม่ให้ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว การให้ยาอื่น ๆ นั้นต้องดูความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย เพราะฉะนั้นควรจะติดตามการรักษากับแพทย์และไม่ซื้อยารับประทานเองหรือเอายาของคนอื่นมารับประทาน    อาหารที่ควรจะหลีกเลี่ยงก็คือ อาหารเค็ม อาหารโปรตีนมาก ๆ ก็จะทำให้ของเสียในเลือดเพิ่มขึ้นเร็ว ปัจจุบันเรามีการรักษาหลายชนิด ที่มักจะนิยมเรียกกันว่า การล้างไต จริง ๆ การล้างไตนั้นเป็น

วิธีที่ปัจจุบันมีการรักษากันมาก แบ่งหลัก ๆ ได้ 2 ชนิด คือ
            - ล้างไตโดยการขจัดของเสียในเลือดออก โดยใช้น้ำยาใส่ลงไปในช่องท้อง หลักการก็คือ จะใส่น้ำยาล้างไตลงไปในช่องท้องของผู้ป่วย และของเสียที่อยู่ในกระแสเลือดก็จะซึมผ่านผนังหลอดเลือดฝอย บริเวณเยื่อบุช่องท้องออกมาในน้ำยา  แล้วจะเปลี่ยนน้ำยาที่มีของเสียนั้นออกและใส่ถุงใหม่กลับเข้าไป วันหนึ่งก็จะทำ 3 - 4 ครั้ง ของเสียก็จะสามารถขจัดออกไปได้ การรักษาวิธีนี้ดีอย่างหนึ่งก็คือ คนไข้อาจไม่ต้องอยู่ในโรงพยาบาล ในช่วงแรกที่ทำใหม่ ๆ อาจจะต้องได้รับการดูแลโดยพยาบาลหรือแพทย์ว่าจะสามารถปฏิบัติเองได้ หรือผู้ป่วยบางรายไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ก็จะเป็นญาติที่คอยเปลี่ยนน้ำยาให้ แต่ขอเน้นว่า วิธีนี้จะต้องใช้ความสะอาดมาก เพราะถ้ามีเชื้อโรค หรือล้างมือไม่สะอาดก็จะมีการติดเชื้อในช่องท้องได้ อาจจะมีอันตรายถึงชีวิต 
            - การฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม การฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม ต้องมาฟอกที่โรง
พยาบาล หลักการก็จะคล้าย ๆ กัน ก็คือ จะนำของเสียซึ่งออกจากเลือด โดยผ่านตัวกรองของเครื่องไตเทียม ตัวกรองจะมีหน้าที่กรองเอาของเสียในเลือดออก การฟอกเลือดจะต้องมาฟอกสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งหนึ่งประมาณ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้งสองวิธีมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป จะต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของอายุรแพทย์โรคไตที่จะแนะนำผู้ป่วยว่า คนไข้รายนั้นเหมาะกับการักษาวิธี

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากท่านอาจารย์

อ้างอิงจาก

อ.นพ. อรรถพงศ์  วงศ์วิวัฒน์
ภาควิชาอายุรศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้